กระบวนวิชา 201117

Mathematics and Science in Civilization

คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์กับอารยธรรม


 เว็บไซต์ในแต่ละภาคเรียน :


 เอกสารเกี่ยวกับกระบวนวิชา :

  • รายละเอียดกระบวนวิชา 201117 (ไฟล์ PDF)
  • ใบประชาสัมพันธ์กระบวนวิชา 201117 (ไฟล์ PDF)

ท่านสามารถชมข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อที่สอน ผลงานของนักศึกษา และข้อความประทับใจของนักศึกษา ที่เคยลงทะเบียนเรียนวิชานี้ ได้จากเว็บไซต์หน้านี้ หากต้องการติดต่อผู้สอน กรุณาติดต่อมาที่อาจารย์ ดร.อติชาต เกตตะพันธุ์ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โทรศัพท์ (053)943-326 ต่อ 108 อีเมล์หรือเฟสบุค kettapun[at]gmail.com


 ข้อความประชาสัมพันธ์กระบวนวิชา :

IMG_7541 IMG_7377 IMG_7378    IMG_7411

ดร.อติชาต เกตตะพันธุ์ รับรางวัล “วิธีปฏิบัติที่ดี Good Practices ในการจัดการเรียนรู้แบบใหม่ในศตวรรษที่ 21” กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากรายวิชา “คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์กับอารยธรรม” ประจำปีการศึกษา 2558 ให้ไว้ ณวันที่ 14 กรกฎาคม 2559 ณ สถานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มอบรางวัลโดย ศาสตราจารย์ ดร.วัชระ กสิณฤกษ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและพัฒนาคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

201117-2559-01Ads

201117-2013-10-15FM100

สัมภาษณ์วิทยุ สถานีวิทยุเสียงสื่อสารมวลชน FM.100 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วันที่ 18 กันยายน 2556 และออกอากาศซ้ำ วันที่ 15 ตุลาคม 2556 คลิกฟังรายการสัมภาษณ์

201117-2013-09-23to29CMUWeeklyNews2

ข่าวรอบสัปดาห์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 22-29 ก.ย. 56


ตัวอย่างประเด็นและคำถามที่น่าสนใจ ที่สอนในกระบวนวิชา 201117 :

  • เรียนรู้หน่วยวัดในอดีต ที่ยังมีการใช้ถึงปัจจุบัน และใช้ศึกษาเรื่องราวที่มีการบันทึกไว้ในทางประวัติศาสตร์ได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น
  • การนำองค์ความรู้คณิตศาสตร์และดาราศาสตร์อย่างใช้มาสร้างกำแพงเชียงใหม่ได้อย่างถูกต้องแม่นยำสูงกว่าวิธีที่ประเทศตะวันตกใช้ในสมัยก่อน
  • การใช้คณิตศาสตร์ศึกษาสิ่งก่อสร้างในโบราณ เช่น วิหารกรีก ปิรามิด และบ่อน้ำโบราณ เป็นต้น
  • รู้จักศักราชที่สำคัญ และการเทียบศักราชต่างๆ เช่น พุทธศักราช คริสต์ศักราช จุลศักราช มหาศักราช รัตนโกสินทร์ศก และ ฮิจญ์เราะฮ์ศักราช เป็นต้น
  • ทำไมจึงมีการตัดสินใจที่น่าพิศวง โดยการลบวันที่  5-14 ตุลาคม ค.ศ. 1582 ออกจากปฏิทินสากล
  • ทำไมในปฏิทินราชการไทยจึงมีเดือนหายไป 3 เดือน คือ เดือน มกราคม-มีนาคม พ.ศ.2484
  • ทำไมการเทียบ ค.ศ. และ พ.ศ. ไม่สามารถใช้สูตร พ.ศ. = ค.ศ. + 543 ทุกครั้ง และในกรณียกเว้นนั้นควรจะใช้สูตรใดแทน
  • ปัญหาในการสร้างปฏิทินในอดีตและอนาคตคืออะไร และเราจะแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างไร
  • ทำไมวันเพ็ญเดือน 12 ในบางปีพระจันทร์ถึงไม่เต็มดวง แต่พระจันทร์กลับไปเต็มดวงในวันอื่น
  • ทำไมวัดส่วนใหญ่จึงหันหน้าไปทางทิศตะวันออก และเกี่ยวข้องกับการสร้างปฏิทินหรือไม่อย่างไร
  • การศึกษาความมหัศจรรย์ของจัตุรัสกลในอารยธรรมต่างๆ รวมถึงยันต์ล้านนา ซึ่งทำให้เข้าใจว่าคนสมัยก่อนมีความรู้ความสามารถด้านคณิตศาสตร์มากเพียงใด
  • เราสามารถมองเห็นภาพร่างที่ซ่อนอยู่หลังภาพวาดของจิตกรเอกของโลกได้อย่างไร
  • เราจะสามารถคำนวณหาอายุวัดถุโบราณด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร
  • ปัจจุบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถูกนำมาใช้ในการอนุรักษ์วัตถุโบราณเป็นอย่างไร
  • เราสามารถนำเอาวิทยาศาสตร์พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างไร อาทิ เครื่องเขิน และกาวเม็ดมะขาม เป็นต้น
  • ปรากฏการณ์พระธาตุหัวกลับที่วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นปาฏิหาริย์ หรือปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์กันแน่ และเราสามารถสร้างพระธาตุหัวกลับเองได้หรือไม่
  • เราสร้างภาพจำลองเสมือนจริงของภาพจิตกรรมฝาผนัง วัดอุโมงค์(สวนพุทธธรรม) จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ 500-600 ปีก่อนได้อย่างไร และมีการนำองค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ เคมี ชีววิทยา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ มาศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับวัดอุโมงค์อย่างไร
  • มีการเชิญวิทยากรภายนอกที่เชี่ยวชาญมาบรรยายให้ความรู้
  • มีกิจกรรมทัศนศึกษานอกสถานที่
  • ฯลฯ

ผลงานของนักศึกษา : 

ในกระบวนวิชา “คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์กับอารยธรรม (201117)” มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้กำหนดให้นักศึกษาสร้างผลงาน (project) ที่นำเสนอถึงการนำคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์มาใช้ศึกษาเกี่ยวกับอายรยธรรมระดับท้องถิ่น ประเทศ หรือโลก โดยสามารถนำเสนอในรูปแบบของ รายงาน วีดีทัศน์ แบบจำลอง กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนการสอน เกม หรือในรูปแบบอื่น โดยเน้นให้นักศึกษาได้เลือกสร้างผลงานที่ตนเองสนใจ และผลงานนั้นต้องคิดหรือจัดทำด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากไม่มีจำกัดกรอบในการคิดจึงได้มีการสร้างสรรค์ผลงานที่น่าสนใจจำนวนมากในหลากหลายรูปแบบ และในการจัดทำผลงานยังพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ได้ผ่านการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ และภูมิใจกับผลงานที่ถูกนำมาเสนอในชั้นเรียนเป็นอย่างมาก ผู้สอนจึงนำผลงานบางส่วนมาแสดงด้านล่าง ทั้งนี้หากท่านต้องการชมผลงานอื่นๆ ในกระบวนวิชานี้เพิ่มเติม สามารถชมได้ที่ เว็บไซต์กระบวนวิชา 201117 ในแต่ละภาคเรียน

(ลิงค์ด้านล่างอยู่ระหว่างการปรับปรุง)

Umong Simulator (แบบจำลอง 3D วัดอุโมงค์) ภาคเรียนที่ 1/57

แบบจำลอง 3D นี้ได้พัฒนาจากโปรแกรมสร้างเกมคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ชมได้เข้าชมอุโมงค์ในวัดอุโมงค์ สวนพุทธธรรม ได้ด้วยตนเอง บางอุโมงค์ได้นำภาพที่มีสีสันไปใส่ให้ชม จะได้ทราบบรรยากาศของอุโมงค์เมื่อ 500-600 ปีก่อน และยังมีข้อมูลเกียวกับอุโมงค์ ภาพเขียน สีที่ใช้เขียนภาพ ให้คลิกเพื่อเปิดอ่านได้ด้วย ทั้งนี้ผู้ใช้สามารถเล่นเกมนี้ออนไลน์จากลิงค์ที่กำหนดให้ได้ด้านล่าง

วีดีทัศน์นำเสนอ แบบจำลอง 3D เรื่อง “Umong Simulator”

ห้องแห่งความลับ (แบบจำลอง, รายงาน) ภาคเรียนที่ 1/57

ผลงานชิ้นนี้เป็นการจ้ดทำรายงานและแบบจำลองเพื่ออธิบายว่า ปรากฏการณ์พระธาตุกลับหัวซึ่งพบเฉพาะที่วัดในจังวัดลำปางนั้น ถือว่าเป็นปาฏิหาริย์หรือปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ โดยได้มีการจัดทำวีดีทัศน์เพื่อนำเสนอผลงานนี้ด้วย

วีดีทัศน์นำเสนอรายงานและแบบจำลอง เรื่อง “ห้องแห่งความลับ”

แบบจำลอง “ห้องแห่งความลับ”

มหัศจรรย์แท่งเนเปียร์ (แบบจำลอง, กิจกกรรมการเรียนรู้) ภาคเรียนที่ 1/57

แท่งเนเปียร์เป็นอุปกรณ์การคำนวณที่สำคัญในประวัติศาสตร์ ซึ่งช่วยในการคูณและหารเลขได้อย่างรวดเร็ว ในการนำเสนอวีดีทัศน์ได้แสดงให้เห็นประวัติศาสตร์ของแท่งเนเปียร์รวมถึงการนำมาใช้ในการคูณและการหารได้เป็นอย่างดี ส่วนแบบจำลองก็ทำให้ผู้ชมสามารถนำคำนวณเลขได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้มีคู่มือแนะนำการใช้งานและแบบฝึกหัดพร้อมเฉลยเพิ่มเข้ามาด้วย

วีดีทัศน์นำเสนอแบบจำลอง เรื่อง “มหัศจรรย์แท่งเนเปียร์”

แบบจำลอง “มหัศจรรย์แท่งเนเปียร์”

ไขปริศนาปรากฎการณ์แสงอาทิตย์ลอดผ่าน 15 ช่องประตู (แบบจำลอง) ภาคเรียนที่ 1/57

แบบจำลองนี้เน้นอธิบายปรากฏการณ์แสงอาทิตย์ลอดผ่าน 15 ช่องประตู ณ ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งจะเกิดขึ้น 4 ครั้งต่อปี โดยสามารถทำให้ผู้ชมเข้าใจได้ง่าย และยังทำให้เข้าใจด้วยว่าเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันสามารถเกิดขึ้นกับปราสาทอื่นๆ ได้หรือไม่ อะไรคือเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้

วีดีทัศน์นำเสนอแบบจำลอง เรื่อง “ไขปริศนาปรากฎการณ์แสงอาทิตย์ลอดผ่าน 15 ช่องประตู”

แบบจำลอง “มหัศจรรย์แสงลอดช่องเขาพนมรุ้ง”

ความลับของสะพานหิน (แบบจำลอง) ภาคเรียนที่ 1/57

ผลงานชิ้นนี้เป็นการสร้างแบบจำลองสำหรับให้ศึกษาหลักการสร้างสะพานหินโค้ง โดยสามารถให้ผู้ชมสามารถสร้างสะพานหินโค้งจำลองได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ได้มีการสร้างวีดีทัศน์นำเสนอเรื่องสะพานหินโค้งจำลองและได้อธิบายถึงสะพานชินดอื่นๆ อีกด้วย ผู้สนใจสามารถดาวโหลดเอกสารเรื่องการสร้างแบบจำลองรวมถึงข้อมูลสะพานแบบอื่นๆ ไปศึกษาได้อีกด้วย

วีดีทัศน์นำเสนอแบบจำลอง เรื่อง “ความลับของสะพานหิน”

แบบจำลอง “ความลับของสะพานหิน”

มหัศจรรย์พีรามิดคูฟู
[วีดีทัศน์] ภาคเรียนที่ 3/56
นิทานประวัติศาสตร์ ตอนมหัศจรรย์แห่งกาลเวลา
[วีดีทัศน์การ์ตูน] ภาคเรียนที่ 3/56
มหัศจรรย์ยันต์โทนพุทธคุณ กับวีดีทัศน์แสนสนุก
วีดีทัศน์เรื่องมหัศจรรย์จัตุรัสกลล้านนา
[วีดีทัศน์] ภาคเรียนที่ 3/56
บอกข้าทีมัมมี่ทำไง
[วีดีทัศน์] ภาคเรียนที่ 3/56
จัตุรัสกลหรรษา
[วีดีทัศน์การ์ตูน] ภาคเรียนที่ 3/56
กฏหมายในมิติคณิตศาสตร์
[รายงาน, ไฟล์นำเสนอ] ภาคเรียนที่ 3/56
Math and Sci Millionaire [เกม] ภาคเรียนที่ 3/56
ไขปริศนาลับฉบับพีระมิด [แบบจำลอง และหนังสือ] ภาคเรียนที่ 3/56

ความประทับใจของผู้เรียน :

“เป็นกระบวนวิชาที่บูรณาการความรู้ได้เด่นชัดที่สุดตั้งแต่เจอมา เพราะเคยคิดว่ามันจะบูรณาการได้ยังไงระหว่าง Math & Sci กับอารยธรรม จนในที่สุดก็ได้รู้  จุดเด่นคือ โยงเนื้อหาคณิต วิทย์ มาบูรณาการได้เต็มๆ ชัดเจน (บางวิชาบอกว่าบูรณาการ แต่ก็ดูเหมือนไม่บูรณาการ แต่พอเจอวิชานี้ ชอบเลย รักเลย)”
นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์

“การสอนให้รู้จักการคิดด้วยตนเอง มีส่วนร่วมในการสอน ทั้งยังพาไปศึกษาในสถานที่จริง ทำให้เข้าใจเนื้อหามากขึ้น ซึ่งส่งผลให้การเรียนเป็นไปอย่างสนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ และได้มุมมองใหม่ๆ มากขึ้น รวมถึงภาคภูมิใจในความเป็นไทย นอกจากนี้ด้านเนื้อหายังมีความแปลกใหม่ ทำให้ได้รับความรู้เพิ่มเติมมากมาย อีกทั้งบางครั้งยังมีการเชิญบุคลาการที่เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ถึงที่ ซึ่งนับเป็นโอกาสที่ยากที่จะได้เจอแบบนี้”
นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์

“อยากให้เพื่อนๆ มาเรียน เพราะเรื่องมันสนุกมากๆ มันน่าเรียนจริงๆ ไม่เคยเรียนแบบนี้มาก่อน มันทำให้เห็นประโยชน์ของวิชาที่เคยเรียนมา มันแหวกแนวจากทุกๆ วิชาที่เคยเรียนมาในชีวิต เป็นวิชาที่มาเรียนเพราะอยากรู้จริงๆ ไม่ใช่มาเพราะอยากได้ A สนุกจริงๆ ค่ะ”
นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์

“การได้เห็นความรู้ที่แปลกใหม่ ที่ไม่มีใครสอนนอกจากมหาวิทยาลัยเรา เป็นวิชาที่ดี แสดงถึงความใส่ใจของอาจารย์ในอารยธรรมที่อาจมีคนละเลย ทำให้ นศ.เริ่มรู้สึกใส่ใจกับสิ่งรอบข้าง และสนใจความรู้เกี่ยวกับอารยธรรม และประวัติศาสตร์มากขึ้น อาจารย์มีเกณฑ์การให้คะแนนที่ชัดเจน ยุติธรรม และใช้สื่อเทคโนโลยีอินเตอร์เนตแจ้งข่าวต่างๆ กับ นศ.ได้ดี รวดเร็ว จะใส่ใจกับการสอน นศ.มากๆ”
นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ

“อยากให้ นศ. คนอื่นๆ ได้เรียนวิชานี้ เป็น 1 ในตัวฟรีของมหาลัยที่ต้องลง เพราะปัจจุบันนี้คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยเห็นความสำคัญของประวัติศาสตร์หรืออารยธรรมที่มีคุณค่า เนื่องจากอาจเห็นว่าเป็นเรื่องน่าเบื่อ แต่วิชานี้สามารถนำวิทยาศาสตร์และก็คณิตศาสตร์มาประยุกต์เข้ากับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์กับอารยธรรม ให้กลายเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และทำให้เกิดความอยากรู้ ท้ายที่สุดแล้ววิชานี้จะกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยปลูกฝังจิตสำนึกให้คนรุ่นใหม่รู้คุณค่าของประวัติศาสตร์และอารยธรรมที่บรรพบุรุษได้สรรสร้างขึ้น”
นักศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์

“กระบวนวิชานี้มีจุดเด่นคือ เนื้อหาที่เรียนสามารถเข้าใจง่าย และไม่ยากเกินไปสำหรับคนที่ไม่ได้เรียนวิทย์-คณิตมา ซึ่งดีมากเพราะว่าทำให้นักศึกษาทุกคนมีโอกาสที่จะได้เรียนเท่าเทียมกันทุกคน และวิชานี้มีงานให้ทำ 1 ชิ้น ซึ่งงานชิ้นนี้ต้องใช้ทักษะมากมายในการทำ เช่น การคิดวิเคราะห์ ทำงานร่วมกับผู้อื่น และได้สร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ มาเพื่อนำมาแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในเซค”
นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์

“พาร์ทแรกเป็นการศึกษาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์บูรณาการกับประวัติศาสตร์ ทำให้มองเห็นถึงความสำคัญของคณิตศาสตร์ที่มีอยู่รอบตัว มันดูน่าทึ่ง และประหลาดใจมากค่ะ และเรื่องที่เกี่ยวกับวัดอุโมงค์ชอบมากๆ อยากให้อาจารย์มีการสอนต่อไปเรื่อยๆ ค่ะ และอยากให้มีการศึกษาประวัติศาสตร์ที่อื่นๆ ด้วย อาจารย์ทำให้คนที่ไม่ชอบเกี่ยวกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ หันมาสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มากขึ้น และอาจารย์ใจดี แต่ก็มีขอบเขตอยู่ในกฎระเบียบดีค่ะ ไม่ค่อยเจออาจารย์แบบนี้ ทำให้ตอนเรียนไม่เกร็ง ไม่เบื่อ”
นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์

“อาจารย์อติชาตสอนได้อย่างกระตือรือร้นมาก ตลก และสนุกมาก / ได้ฝึกคิดวิเคราะห์ด้วยตนเอง / ได้ฝึกการตรงต่อเวลา และการแต่งกายให้ถูกระเบียบ / มีการใช้สื่อ Website ทำให้สามารถเข้าไปติดตามข่าวสาร หรือทบทวนเนื้อหาบทเรียนที่เรียนไปแล้วได้ / ได้เรียนรู้เรื่องราวของชาติ ของท้องถิ่น ที่ยังไม่เคยรู้มาก่อน ช่วยอนุรักษ์เผยแพร่ให้คนรุ่นใหม่ได้ทราบต่อไป” “วันก่อนหนูได้ไปทัศนศึกษายังเทศบาลเมืองกาญจนบุรี ก็ได้ไปเห็นดวงฤกษ์ในการก่อสร้างของล้านนา ก็ได้อธิบายให้พี่ๆ ที่ไปด้วยกันให้เข้าใจ พี่ๆ ก็ถามว่าไปเรียนมาจากไหน ก็ตอบไปว่า เรียนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวิชา 201117”
นักศึกษาคณะนิติศาสตร์

“ชอบวิชานี้มากๆ ค่ะ เรียนวิชานี้แล้วรู้สึกมีความสุข อยากมาเรียน ไม่น่าเบื่อ อาจารย์น่ารักมากๆ ความรู้และเรื่องราวต่างๆ เป็นเรื่องที่น่าสนใจ ได้เห็นมุมมอง และความคิดสร้างสรรค์ของเพื่อนๆ ด้วย ขอบพระคุณอาจารย์มากๆ ค่ะ 🙂 บอกได้เลยค่ะ ว่าวิชานี้ตั้งใจเรียนทุกคาบที่สุดกว่าทุกๆ วิชาเลยค่ะ”
นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์

“อยากให้คงเอกลักษณ์ของวิชานี้ต่อไปตลอด เนื่องจากวิชานี้ทำให้เลิกเกลียดคณิตศาสตร์ในที่สุด จากที่ตอนแรกแจ้งไปว่าไม่อยากให้มีอาจารย์คนอื่นมาสอนร่วม แต่หลังจากได้เรียนกับอาจารย์ศิริวรรณ และฟังอาจารย์อีกท่านบรรยาย รู้สึกโชคดีมากที่ได้มีโอกาสเรียนวิชานี้ รักอาจารย์ทั้งสามท่าน”
นักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์

“จุดเด่นของกระบวนวิชานี้ที่อยากให้คงไว้ คือ เนื้อหา และ การสอนที่สนุก รวมทั้งการที่ให้นักศึกษาได้ทำรายงาน ได้คิดอะไรใหม่ๆ ด้วยตนเอง ไม่ให้ก๊อปคนอื่น เพราะรู้สึกว่ามันเป็นการสอนที่ทำให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง เสริมความคิดสร้างสรรค์ และฝึกการเรียนรู้ การสังเกตสิ่งใหม่ๆ ด้วยตัวเอง / จุดเด่นอีกจุดใน part 2 ก็คือ การที่ให้เรียนรู้จากวีดีโอ แม้จะเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็รู้สึกว่าทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น และจดจำได้นานขึ้น / และในส่วนของข้อสอบ มีความเหมาะสม ไม่ยาก ไม่ง่ายจนเกินไป แต่สามารถทดสอบความเข้าใจในบทเรียนของนักศึกษาได้เป็นอย่างดี”
นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์

“ความสนุกสนาน และเป็นกันเองของอาจารย์ สอนเรื่องระเบียบวินัย และความประพฤติที่ควรทำ / เนื้อหาในการสอน ครึ่งของ อ.อติชาต สนุกและเข้าใจง่าย เป็นเนื้อหาที่ควรค่าแก่การเผยแพร่ / สื่อประกอบการเรียน ดูเข้าใจง่าย และเนื้อหาพอเหมาะ / ความเอาใจใส่ของอาจารย์ ทั้งในกลุ่ม Facebook ที่คอยเอาเรื่องที่เรียนมาลงเพื่อให้ทบทวน / ความตั้งใจที่จะสอนของอาจารย์ที่ต้องการให้ทุกคนรู้และเข้าใจในสิ่งที่ อ. ต้องการจะสื่อ / การมีกิจกรรมตลอดระหว่างการเรียน ทำให้รู้สึกไม่เบื่อในการเรียน และอยากมาเรียน”
นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์