การให้บริการวิชาการทั่วไป

START:
December 15, 2015
DURATION:
ดร.อติชาต เกตตะพันธุ์ มีประสบการณ์ในการจัดค่ายรวม 20 ปี โดยเป็นผู้จัดค่ายสำหรับนักเรียนนักศึกษามามากกว่า 50 ค่าย สำหรับทีมงานจัดค่ายประกอบด้วยคณาจารย์และนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย จากหลากหลายสาขาวิชา ที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูงในการจัดค่าย
ID:
3

Address

ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200   View map

slide1

เกี่ยวกับผู้จัดกิจกรรม:

นอกเหนือจากประสบการณ์ในการจัดค่ายแก่นักเรียนนักศึกษาจำนวน 20 ปี อาจารย์อติชาต เกตตะพันธุ์ยังมีประสบการณ์ในการบริการวิชาการแก่ครู ผู้บริหารโรงเรียน และศึกษานิเทศก์ จำนวน 5 ปี โดยได้ถูกรับเชิญเป็นวิทยากรในระดับสถานศึกษา ระดับจังหวัด และระดับประเทศ ซึ่งมีผู้ร่วมงานตั้งแต่กลุ่มเล็กจนถึงกลุ่มขนาดใหญ่จำนวน 400 คน โดยมีความโดดเด่นในเรื่องวิธีการเสนอที่ผู้รับการอบรมสามารถเรียนรู้ได้ง่าย นำเสนอเรื่องใกล้ตัว และนำไปใช้งานได้จริง ทั้งนี้อาจารย์อติชาตมีทีมงานบริการวิชาการ ซึ่งประกอบด้วยคณาจารย์และนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย จากหลากหลายสาขาวิชา ที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูงในการบริการทางวิชาการ ทั้งนี้ท่านสามารถดูตัวอย่างหัวข้อที่อาจารย์อติชาตและทีมงานเคยถูกรับเชิญไปบรรยายได้จากลิงค์ “ประสบการณ์การในการเป็นวิทยากร”

สำหรับตัวอย่างหน่วยงานที่อาจารย์อติชาตและทีมงานเคยจัดบริการทางวิชาการ ประกอบด้วย สำนักเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) เชียงใหม่ เขต 1,2,4 ลำพูน เขต 1,2,3 และลำปาง เขต 2,3 (ต่อมาได้ยกเลิกองค์กรนี้เป็น สพม. และ สพป.), สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา(สพป.) เชียงใหม่ เขต 1 ลำพูน เขต 1 แพร่ เขต 1, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.), สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.), สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่, โรงเรียนลำปางกัลยาณี จังหวัดลำปาง, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยแม่โจ้, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, กลุ่มนักวิชาการ Textile Friends จากประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา และ Birken Forest Buddhist Monastery จากประเทศแคนาดา เป็นต้น

การจัดการฝึกอบรม และการบริการการศึกษาวิจัย:

ลักษณะการอบรมจะเน้นความกระชับ เข้าใจง่าย เป็นเรื่องใกล้ตัว นำไปใช้ได้จริง มีการนำเสนอหลายรูปแบบ มีสื่อและเอกสารประกอบการบรรยาย โดยขอเสนอตัวอย่างการบริการวิชาการให้ทราบพอสังเขปด้งนี้

การฝึกอบรมสำหรับครูและนักวิชาการ และการบริการการศึกษาวิจัย

การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การออกแบบการเรียนรู้โดยให้นักเรียนใช้กระบวนการวิจัยสำหรับครูผู้สอนคณิตศาสตร์” (1-2 วัน ดูตัวอย่าง)

การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การออกแบบการเรียนรู้โดยให้นักเรียนใช้กระบวนการวิจัยสำหรับครูผู้สอนวิทยาศาสตร์” (1-2 วัน ดูตัวอย่าง)

การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “กิจกรรมการสอนประวัติศาสตร์บูรณาการในมิติคณิตศาสตร์” (1-2 วัน ดูตัวอย่าง)

การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “กิจกรรมการสอนประวัติศาสตร์บูรณาการในมิติวิทยาศาสตร์” (1-2 วัน ดูตัวอย่าง)

การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การสร้างวัฒนธรรมการวิจัยในการเรียนการสอน” (1-2 วัน ดูตัวอย่าง)

การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การสร้างผลงานวิชาการของครูผ่านงานวิจัย” (1-2 วัน)

การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “โครงงานคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียน” (1 วัน)

การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การสอนกระบวนการคิดและการตั้งคำถามสำหรับนักเรียน” (1-2 วัน)

การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “กิจกรรมสำหรับการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในโรงเรียน” (1-2 วัน)

การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “กิจกรรมการเรียนการสอนที่พัฒนาทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์” (1-2 วัน)

การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การจัดค่ายคณิตศาสตร์” (1-2 วัน)

การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “เทคนิคการใช้โปรแกรม Sketchpad สำหรับการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์” (1-3 วัน)

การศึกษาและวิเคราะห์ทางโบราณคดี โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (1 วัน)

การวิเคราะห์ข้อมูลทางโบราณคดีผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

การอบรมการจัดกิจกรรมแบบมืออาชีพ (1-2 วัน)

หากมีหัวข้อการบริการวิชาการที่ท่านสนใจแต่ไม่ระบุในกิจกรรมด้านบน ท่านสามารถสอบถามอาจารย์อติชาตได้เสมอ

การฝึกอบรมสำหรับนักเรียนนักศึกษา

การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบบูรณาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่น” (1 วัน ดูตัวอย่าง)

การอบรมเชิงปฏิบัติการ/การดูงาน เรื่อง “คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์กับการศึกษาทางโบราณคดีที่วัดอุโมงค์(เชิงดอยสุเทพ)” (1/2-1 วัน ดูตัวอย่าง)

การอบรมความรู้สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์ (1-2 วันต่อครั้ง)

การอบรมการใช้โปรแกรมคณิตศาสตร์ The Geometer’s Sketchpad (1-3 วัน)

กิจกรรมบทบาทสมมติเรื่อง “การสัมภาษณ์งาน” (1/2 -1 วัน เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเองโดยวิทยากร โดยเน้นทั้งสาระ ความสนุกสนาน และให้ทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรม กิจกรรมนี้เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการปัจฉิมนิเทศนักศึกษาเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการหางาน ดูตัวอย่าง)

การบรรยาย อาทิ “เรียน Math อย่างไรให้ได้ A” “เรียนคณิตศาสตร์ไปทำไม” และ “ชีวิตนักศึกษาคณิตศาสตร์หลังเรียนจบ : อาชีพและการศึกษาต่อที่หลากหลาย” (1-2 ชั่วโมงต่อเรื่อง)

หากมีหัวข้อการบริการวิชาการที่ท่านสนใจแต่ไม่ระบุในกิจกรรมด้านบน ท่านสามารถสอบถามอาจารย์อติชาตได้เสมอ และในเรื่องการจัดค่ายสำหรับนักเรียนนักศึกษาท่านสามารถชมข้อมูลที่หน้าค่ายคณิตศาสตร์และค่ายเยาวชนอื่น

การติดต่อเชิญเป็นวิทยากร:

หากท่านต้องการติดต่อเรื่องการบริการวิชาการ โปรดติดต่อล่วงหน้าอย่างน้อย 6 สัปดาห์ก่อนวันจัดกิจกรรม โดยสามารถติดต่อมาที่

อาจารย์อติชาต เกตตะพันธุ์
ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
โทรศัพท์: 053-943-327 ต่อ 127 หรือ 083-763-1536
แฟกซ์: 053-892-280
อีเมล์: kettapun[at]gmail.com

ตัวอย่างภาพการบริการวิชาการ:

วิทยากร ใน “กิจกรรมขยายผลการเรียนรู้แก่นักเรียนในโครงการวิจัยการจัดการเชื้อเพลิงในป่าเต็งรัง” แก่นักเรียนในพื้นที่อำเภอจอมทอง จัดโดย ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ภาคเหนือ, ศูนย์ปฏิบัติการไฟป่าเชียงใหม่ และอุทยานแห่งชาติออบหลวง วันที่ 18 สิงหาคม 2555 ณ ป่าชุมชนบ้านแม่เตี๊ยะ หมู่ 14 ต.สบเตี๊ยะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่

วิทยากร ในโครงการพัฒนาทักษะครูผู้สอนของโรงเรียนในสังกัดเมืองพัทยา เรื่อง “การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบบูรณาการกับชีวิตประจำวัน” แก่ครูและผู้บริหารโรงเรียนด้านการศึกษา จำนวน 75 คน วันที่ 6-8 กรกฎาคม 2555 ณ ห้องประชุม โรงเรียนเมืองพัทยา 3 (วัดสว่างฟ้าพฤฒาราม) เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี

วิทยากรในกิจกรรม “วิทยาศาสตร์กับการศึกษาทางโบราณสถานในประเทศไทย” ในค่ายวิทยาศาสตร์ ภาคฤดูร้อน สำหรับนักเรียนทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2554 จัดโดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) และสมาคมนักเรียนทุน พสวท. วันที่ 22 เมษายน 2555 ณ ศูนย์ฝึกอบรมแม่เมาะ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
วิทยากรในการเยี่ยมชมภาควิชาคณิตศาสตร์ ในค่ายวิทยาศาสตร์สัมพันธ์ ฉันท์ วมว. ครั้งที่ 2 และค่าย SCiUS Forum ครั้งที่ 2 จัดโดย โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (โครงการ วมว.มช.) วันที่ 2 และ 3 เมษายน 2555 ตามลำดับ ณ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วิทยากรในการอบรมเรื่อง “การเชื่อมโยงประวัติศาสตร์กับคณิตศาสตร์และวิชาอื่น” โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) วันที่ 30 มีนาคม 2555 ณ โรงแรมรามาการ์เดนส์ กรุงเทพฯ

วิทยากรในกิจกรรมปฏิบัติการคณิตศาสตร์ ในโครงการค่ายฝึกวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ภาคฤดูร้อน สำหรับเยาวชนภาคเหนือ ครั้งที่ 31 วันที่ 15 มีนาคม 2555 ณ วัดอุโมงค์(เชิงดอยสุเทพ) จังหวัดเชียงใหม่ จัดโดย ชมรมวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วิทยากรในการอบรมครูเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การสร้างกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์แบบบูรณาการที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้” ในการประชุมวิชาการของครู ในโครงการพัฒนาศักยภาพครูเพื่อเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์กลุ่มภาคเหนือตอนบน จำนวน 32 คน จัดโดย โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ร่วมกับ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) วันที่ 9 มีนาคม 2555 ณ โรงเรียนโลตัสปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่

วิทยากรสำหรับการศึกษาดูงาน “คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์กับการศึกษาทางโบราณคดี ณ วัดอุโมงค์” ภายใต้โครงการศึกษาดูงานการประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์สำหรับงานวิจัยในศาสตร์แขนงอื่นๆ สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ประมาณ 50 คน วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2555 ณ วัดอุโมงค์(ชิงดอยสุเทพ) จ.เชียงใหม่

งานเลี้ยงปีใหม่ 2555 สำหรับทีมงานค่ายและนักศึกษาในที่ปรึกษา วันที่ 8 มกราคม 2555 ณ ร้านอาหารเลมอนทรี สถานบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การจัดนิทรรศการเผยแพร่ผลงานของหน่วยวิจัยคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โบราณคดี ใน “งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ส่วนภูมิภาค ประจำปี 2554” วันที่ 18-20 สิงหาคม 2554 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วิทยากรการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “สร้างทัศนคติที่ดีกับวิชาคณิตศาสตร์ที่ซ่อนอยู่ในชีวิตประจำวัน” ในงาน EDUCA 2011 (งานมหกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู ครั้งที่ 4) โดย สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา และ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วันที่ 14 ตุลาคม 2554 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมนานาชาติ ไบเทค กรุงเทพฯ

ประชุมใหญ่ “โครงการวิจัยและพัฒนาเครือข่ายในพื้นที่เพื่อหนุนเสริมการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์ในระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 สถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ (LLEN เชียงใหม่)” วันที่ 2 กันยายน 2554 ณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การจัดนิทรรศการเผยแพร่ผลงานของหน่วยวิจัยคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โบราณคดี ใน “งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ส่วนภูมิภาค ประจำปี 2554” วันที่ 18-20 สิงหาคม 2554 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วิทยากร “โครงการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์แบบบูรณาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่น” สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วันที่ 20 กรกฎาคม 2554 ณ วัดอุโมงค์(เชิงดอยสุเทพ) จังหวัดเชียงใหม่

วิทยากรในการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การออกแบบการเรียนรู้โดยให้นักเรียนใช้กระบวนการวิจัยสำหรับครูผู้สอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์” สำหรับครู จำนวน 110 โรงเรียน โดย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1 วันที่ 21-22 มิถุนายน 2554 ณ โรงแรมนครแพร่ทาวเวอร์ จ.แพร่

วิทยากรในการอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการสร้างวัฒนธรรมการวิจัยในการปฏิบัติงาน สำหรับครู และผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 14 โรงเรียน โดย เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา อ.แม่ทาที่ 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1 วันที่ 13 พฤษภาคม 2554 ณ ณ วิทยาลัยการอาชีพป่าซาง จ.ลำพูน

วิทยากรในการประชุมเชิงปฏิบัติสร้างวัฒนธรรมการวิจัย สำหรับครู ผู้บริหารโรงเรียน และศึกษานิเทศก์จากทั่วประเทศ โดย สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) วันที่ 18-23 เมษายน 2554 ณ โรงแรมแม็กซ์ พระราม 9 กรุงเทพฯ

วิทยากรสำหรับการศึกษาดูงาน “โครงการวิจัยจิตรกรรมฝาผนังและโครงสร้างเจดีย์วัดอุโมงค์ จังหวัดเชียงใหม่ โดยวิธีทางเคมีและคณิตศาสตร์เบื้องต้น” ภายใต้โครงการศึกษาดูงานการประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์สำหรับงานวิจัยในศาสตร์แขนงอื่นๆ สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม วันที่ 14 มกราคม 2554 ณ วัดอุโมงค์(ชิงดอยสุเทพ) จ.เชียงใหม่

วิทยากรในการอบรมครูเชิงปฏิบัติการเรื่อง “ประวัติศาสตร์บูรณาการในมิติคณิตศาสตร์” สำหรับครูประวัติศาสตร์และครูคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาเครือข่ายในพื้นที่เพื่อหนุนเสริมการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 สถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2553 ณ โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่

วิทยากรกิจกรรมบทบาทสมมติ “การสัมภาษณ์งาน” โครงการพัฒนาคุณภาพนักศึกษาเรื่อง”ปัจฉิมนิเทศ” ปีการศึกษา 2552 ของภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 23 ม.ค. 2553 ณ ริมดอยรีสอร์ท อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

ผู้นำเสนอ การจัดนิทรรศการเผยแพร่ผลงานของหน่วยวิจัยคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โบราณคดีในวันวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครั้งที่ 5 ประจำปี 2552 วันที่ 26-27 พฤศจิกายน 2552 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเสด็จพระราชดำเนินชมนิทรรศการของหน่วยวิจัยคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โบราณคดี ร่วมกับอธิการบดี และผู้บริหารของมหาวิทยาลัย

การจัดนิทรรศการเผยแพร่ผลงานของหน่วยวิจัยคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โบราณคดี ใน “งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ส่วนภูมิภาค ประจำปี 2552” วันที่ 18-20 สิงหาคม 2552 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วิทยากรภาคทฤษฏี และภาคปฏิบัติการ โครงการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง “ย้อนรอยโบราณสถานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น” สำหรับนักศึกษาสาขาคณิตศาสตร์และสถิติชั้นปีที่ 3 15 ก.ค. 2552 ณ ภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และวัดอุโมงค์(เชิงดอยสุเทพ) จังหวัดเชียงใหม่

วิทยากรเรื่อง “วิทยาศาสตร์กับการศึกษาทางโบราณคดี ณ วัดอุโมงค์” ในค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อน สำหรับนักเรียนทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2551 โดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 31 มี.ค. 2552 ณ ศูนย์วิจัยสาธิตและฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ และวัดอุโมงค์ เชิงดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่

วิทยากรนำชมวัดอุโมงค์ เชิงดอยสุเทพ แก่กลุ่มนักวิชาการ Textile Friends รวม 8 คน จากประเทศสหรัฐอเมริกา และแคนาดา 16 กุมภาพันธ์ 2552

วิทยากรนำชมวัดอุโมงค์ เชิงดอยสุเทพ แก่พระสงฆ์ แม่ชี และฆราวาส จาก Birken Forest Buddhist Monastery ประเทศแคนาดา จำนวน 19 คน วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552

วิทยากรภาคทฤษฏี และภาคปฏิบัติการ โครงการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง “ย้อนรอยโบราณสถานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น” สำหรับนักศึกษาสาขาคณิตศาสตร์และสถิติชั้นปีที่ 3 16 ก.ค. 2551 ณ ภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และวัดเจ็ดยอด จังหวัดเชียงใหม่

ตัวอย่างข้อคิดเห็นจากผู้เข้ารับการอบรม:

“เด็กประถมโดยเฉพาะช่วง ป.1-ป.3 เป็นวัยอยากรู้อยากเรียนและชอบถามจุกจิก บางทีก็ถามไร้สาระตามวัยของเขา เทคนิคปลูกต้นคิดพิชิตคำถาม น่าจะนำไปใช้ในการจัดกระบวนการเรียนการสอนได้ดี เพื่อเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการตั้งคำถามของนักเรียน ให้เด็กคิดเป็นตั้งคำถามเป็น ส่วนบทเรียนแม่น้ำกว้างแค่ไหนแผนที่ทางอากาศบอกเราได้ น่าจะเป็นบทเรียนที่นำไปใช้ เด็กคงจะสนุกตื่นเต้นมากเหมือนกับได้ท่องไปในโลกกว้าง ทุกความรู้ที่ได้รับจะนำไปใช้จัดการเรียนการสอนบูรณาการกับวิชาอื่นๆให้ได้มากที่สุด ต้องขอขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้เป็นอย่างยิ่ง”

อาจารย์กนกกาญจน์ โนรินทร์ โรงเรียน บ้านร้องเข็ม จังหวัดแพร่

(การอบรมเชิงปฏิบัติการการออกแบบการเรียนรู้โดยให้นักเรียนใช้กระบวนการวิจัยสำหรับครูผู้สอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์)

“ได้รับความรู้เรื่องการบูรณาการการสอนสาระวิชาต่างๆ / ได้เทคนิคการสอนประวัติศาสตร์ที่ควรนำไปสอนเด็กเป็นอย่างยิ่ง เป็นการสอนที่ไม่น่าเบื่อ / ได้แรงบันดาลใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และงานวิจัย โดยใช้การบูรณาการ และจะนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด / ได้เทคนิคการสอนให้เด็กได้ทั้งความรู้และความสุข / ทึ่งมาก ที่มีนักวิทยาศาสตร์, นักวิจัย, ครูมืออาชีพ อยู่ในคนเดียวกัน / ขอบคุณ อ.อติชาต เกตตะพันธุ์ ที่เป็นแบบอย่างที่ดีและแรงบันดาลใจ”

อาจารย์นิรามัย เจิมจิตร โรงเรียนบ้านสัน จังหวัดลำพูน

(การอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างวัฒนธรรมการวิจัยในการปฏิบัติงาน)

“ได้ตัวอย่างการจัดกิจกรรมที่ใช้กระบวนการวิจัยโดยไม่รู้ตัว / ได้แนวคิด ในการจัดกิจกรรมต้องมีชีวิตชีวา สนุกสนาน เด็กได้ร่วมคิด ร่วมทำจริง จะนำไปปรับใช้ให้จริงจังต่อไป / ทีมงานเก่งมากค่ะ สอนเรื่องยากให้ง่าย สนุก ชอบมากค่ะ ”

อาจารย์อุไร รุ่งเรือง ครูบ้านวังน้ำเขียว จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

(การประชุมปฏิบัติการสร้างวัฒนธรรมการวิจัย)

“ได้แนวทางการจัดการเรียนการสอนตามกระบวนการวิจัย / ได้แนวทางการจัดกิจกรรมที่น่าสนใจ ไม่น่าเบื่อ และการใช้สื่อที่ทันสมัย / สิ่งที่ได้รับสามารถนำไปถ่ายทอดให้เพื่อนครูนำไปใช้ได้อย่างดียิ่ง เพราะเป็นการฝึกการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล เป็นกระบวนการที่ชัด”

อาจารย์นงนาถ อัมพร รองผู้อำนวยการ โรงเรียนบ้านปากข้าวสาร จังหวัดสระบุรี

(การประชุมปฏิบัติการสร้างวัฒนธรรมการวิจัย)

“เป็นการนำเสนอกิจกรรมบูรณาการโดยใช้กระบวนการวิจัย 4 ขั้นตอนของเด็กที่ดี สามารถนำเสนอให้คุณครูเป็นแนวทางและนำมาปรับใช้ได้เป็นอย่างดี จุดประกายให้แน่ใจว่ากระบวนการวิจัยอย่างง่ายๆ ถ้าช่วยกันปลูกฝังให้เด็กอย่างต่อเนื่องให้อยู่ในวิธีชีวิต ทำให้เกิดวัฒนธรรมการวิจัยในสายเลือด”

อาจารย์พิธพร ธนะสมบัติ ศึกษานิเทศก์ อ.พนัสนิคม จังหวัดชลบุรี

(การประชุมปฏิบัติการสร้างวัฒนธรรมการวิจัย)

 

Information about treatment options changes frequently. In these latter days the assortment you can get in the Web is really overwhelming. Other drugs are used to treat inflammation caused by allergic reactions. Below are a couple of ideas about “Cialis 10mg“. What is the most momentous info you probably consider know about this? This product tell more about the evaluation of erectile disfunction and “What is cialis“. Other question we are going to is “Cost of Cialis“. Why it happen? Can sexual problems in men be prevented? Do not give Viagra or any other drug to anyone under 18 years old without prescription.

TOP