Mathematics and Sciences in Archaeological Study at Wat Umong
คณิตศาสตร์ และวิทยาศาตร์กับการศึกษาทางโบราณคดี ณ วัดอุโมงค์ (เชิงดอยสุเทพ)
สิ่งที่น่าสนใจในการศึกษา | ผลงานสื่อวิชาการ | ตัวอย่างภาพกิจกรรม | การเผยแพร่ผลงานผ่านสื่อมวลชน | การบริการวิชาการ
สิ่งที่น่าสนใจในโครงการ
การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับวัดอุโมงค์(เชิงดอยสุเทพ) ได้ค้นพบสิ่งที่น่าสนใจและน่าตื่นเต้นหลายด้าน ทั้งในแง่ความรู้ทางวิชาการที่ได้มาจากการบูรณาองค์ความรู้จากหลากหลายสาขาวิชา การผลิตภาพเคลื่อนไหวสามมิติของอุโมงค์ในอดีต การนำความรู้ที่ได้มาจัดกิจกรรมวิชาการสำหรับนักเรียนและนักศึกษา จึงไม่แปลกใจที่ผลงานได้รับความสนใจเป็นอย่างสูงจากนักวิชาการ นักเรียน นักศึกษา นักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไป ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
วัดอุโมงค์มีความโดดเด่นหลายอย่าง คือ 1) การก่อสร้างอุโมงค์เพื่อเป็นพุทธสถานในลักษณะเช่นนี้ เราพบหลักฐานที่ชัดเจนเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย 2) จิตรกรรมฝาผนังที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศจะมีอายุราว 500-600 ปี ซึ่งมีผลงานที่เก่าแก่มากขนาดนี้ทั่วทั้งประเทศมีไม่เกิน 10 แห่ง และในภาคเหนือก็มีที่วัดอุโมงค์เพียงแห่งเดียวเท่านั้น และ 3) จิตรกรรมฝาผนังที่พบในวัดในประเทศแทบทั้งหมดจะเป็นภาพเล่าเรื่องราวในพุทธศาสนา แต่จิตรกรรมฝาผนังวัดอุโมงค์มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคืออยู่ในรูปแบบ Wall Paper ที่มีลวดลายซ้ำไปมา
การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับวัดอุโมงค์ได้เริ่มต้นมาจากการศึกษาทางศิลปะผ่านโครงการย้อนรอยอดีตจิตรกรรมวัดอุโมงค์ โดย อาจารย์สุรชัย จงจิตงาม อาจารย์ประจำภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และทีมงาน ต่อมาอาจารย์อติชาต เกตตะพันธุ์ จากภาควิชาคณิตศาสตร์ และอาจารย์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ จากภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ร่วมกับอาจารย์สุรชัยก่อตั้งหน่วยวิจัยคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โบราณคดี สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขึ้นในปี พ.ศ. 2550 โดยงานวิจัยชิ้นแรกของหน่วยวิจัยฯ ก็คือการศึกษาทางโบราณคดีที่วัดอุโมงค์โดยใช้องค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยศึกษา
ในช่วงของการค้นคว้าวิจัยมีความท้าทายเพราะมีคำถามที่เราไม่สามารถหาคำตอบด้วยความรู้ทางศิลปะและประวัติศาสตร์เพียงลำพัง แต่หลังจากใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี มาช่วยในการศึกษา ก็ทำให้เราเห็นถึงความมหัศจรรย์ในการก่อสร้างอุโมงค์และการวาดภาพจิตรกรรม เป็นที่น่าสนใจมากว่า ทีมงานได้รับความช่วยเหลือทางวิชาการจากหลากหลายสาขา อาทิ คณิตศาสตร์ เคมี วัสดุศาสตร์ ชีววิทยา ธรณีวิทยา คอมพิวเตอร์ วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ ศิลปะ และโบราณคดี ดังเช่น เรื่องสีที่ใช้ในจิตรกรรมและเทคนิคการวาดภาพผ่านกระบวนการทางเคมีและวัสดุศาสตร์ การศึกษาการวางผังและทิศอุโมงค์ผ่านความรู้ทางคณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสถาปัตยกรรมศาสตร์ การศึกษาภาพนกที่ปรากฏในจิตรกรรมฝาผนังผ่านนักปักษีวิทยา และการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาช่วยออกแบบลวดลายจิตรกรรมฝาผนังที่ลบเลือนไปบ้างในอุโมงค์อันหนึ่ง ให้ปรากฏเป็นภาพจิตรกรรมกรรมที่สมบูรณ์ดังเช่นในอดีต นอกจากจะเห็นสีสันทีสวยสดงดงามของภาพจิตรกรรมแล้ว เรายังสร้างสารคดีที่มีภาพเคลื่อนไหวสามมิติราวกับเราได้ไปเดินในอุโมงค์เมื่อ 500 ปีก่อนด้วยตนเอง
ทั้งนี้ผลงานการศึกษายังถูกนำมาประยุกต์ใช้เป็นกิจกรรมคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนและนักศึกษาจำนวนมาก และปรากฏว่าสามารถทำให้เด็กประทับใจว่า เรื่องราวโบราณคดีไม่ได้เป็นเรื่องที่น่าเบื่อแต่น่าตื่นเต้นที่จะค้นหา และยังเข้าใจอีกว่าคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์สามารถนำประยุกต์ใช้กับชีวิตจริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาทางโบราณคดี ซึ่งเป็นการเปิดมุมมองใหม่ให้กับเยาวชน และทำให้นักเรียนรักการเรียนรู้มากยิ่งขึ้นด้วย
ผลงานที่กล่าวมาได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยและเผยแพร่ผลงานจากหลายหน่วยงาน อาทิ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สถาบันวิจัยสังคม และสมาคมนักเรียนทุนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
จากความสำเร็จของโครงการนี้ ก็ทำให้มีผู้สนใจนำข้อมูลไปเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนอย่างกว้างขวาง ทั้งสื่อท้องถิ่นและสื่อระดับประเทศ อาทิ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์, หนังสือพิมพ์ข่าวสด, หนังสือพิมพ์บ้านเมือง, สถานีวิทยุเสียงสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (FM100) และรายการจดหมายเหตุกรุงศรี สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 เป็นต้น หากท่านสนใจข้อมูลเกี่ยวกับวัดอุโมงค์ ไม่ว่าจะในแง่ของการทำวิจัย การจัดกิจกรรมสำหรับนักเรียนนักศึกษา หรือการดูงาน ท่านสามารถติดต่อทีมงานได้เสมอตามข้อมูลติดต่อในเว็บไซต์นี้
ผลงานสื่อทางวิชาการ
|
|
|
|
|
ตัวอย่างภาพกิจกรรม
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
การเผยแพร่ผลงานผ่านสื่อมวลชน
ผลงานวีดีทัศน์ผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์:
|
|
|
|
|
บทความ-บทสัมภาษณ์ที่ถูกอ้างถึง:
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สัมภาษณ์รายการวิทยุ:
|
|
|
|
|
|
|
|
|
บทความ:
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการศึกษาวิจัยจิตรกรรมฝาผนังวัดอุโมงค์ ในข่าวสาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2552