เกี่ยวกับผู้จัดกิจกรรม | การจัดการฝึกอบรม และการบริการการศึกษาวิจัย | การติดต่อ | ตัวอย่างภาพการบริการวิชาการ | ตัวอย่างข้อคิดเห็นจากผู้เข้ารับอบรม
(สำหรับการจัดค่ายให้ดูที่ หน้าค่ายคณิตศาสตร์และค่ายเยาวชนอื่น)
เกี่ยวกับผู้จัดกิจกรรม:
นอกเหนือจากประสบการณ์ในการจัดค่ายแก่นักเรียนนักศึกษาจำนวน 20 ปี อาจารย์อติชาต เกตตะพันธุ์ยังมีประสบการณ์ในการบริการวิชาการแก่ครู ผู้บริหารโรงเรียน และศึกษานิเทศก์ จำนวน 5 ปี โดยได้ถูกรับเชิญเป็นวิทยากรในระดับสถานศึกษา ระดับจังหวัด และระดับประเทศ ซึ่งมีผู้ร่วมงานตั้งแต่กลุ่มเล็กจนถึงกลุ่มขนาดใหญ่จำนวน 400 คน โดยมีความโดดเด่นในเรื่องวิธีการเสนอที่ผู้รับการอบรมสามารถเรียนรู้ได้ง่าย นำเสนอเรื่องใกล้ตัว และนำไปใช้งานได้จริง ทั้งนี้อาจารย์อติชาตมีทีมงานบริการวิชาการ ซึ่งประกอบด้วยคณาจารย์และนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย จากหลากหลายสาขาวิชา ที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูงในการบริการทางวิชาการ ทั้งนี้ท่านสามารถดูตัวอย่างหัวข้อที่อาจารย์อติชาตและทีมงานเคยถูกรับเชิญไปบรรยายได้จากลิงค์ “ประสบการณ์การในการเป็นวิทยากร”
สำหรับตัวอย่างหน่วยงานที่อาจารย์อติชาตและทีมงานเคยจัดบริการทางวิชาการ ประกอบด้วย สำนักเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) เชียงใหม่ เขต 1,2,4 ลำพูน เขต 1,2,3 และลำปาง เขต 2,3 (ต่อมาได้ยกเลิกองค์กรนี้เป็น สพม. และ สพป.), สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา(สพป.) เชียงใหม่ เขต 1 ลำพูน เขต 1 แพร่ เขต 1, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.), สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.), สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่, โรงเรียนลำปางกัลยาณี จังหวัดลำปาง, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยแม่โจ้, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, กลุ่มนักวิชาการ Textile Friends จากประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา และ Birken Forest Buddhist Monastery จากประเทศแคนาดา เป็นต้น
การจัดการฝึกอบรม และการบริการการศึกษาวิจัย:
ลักษณะการอบรมจะเน้นความกระชับ เข้าใจง่าย เป็นเรื่องใกล้ตัว นำไปใช้ได้จริง มีการนำเสนอหลายรูปแบบ มีสื่อและเอกสารประกอบการบรรยาย โดยขอเสนอตัวอย่างการบริการวิชาการให้ทราบพอสังเขปด้งนี้
การฝึกอบรมสำหรับครูและนักวิชาการ และการบริการการศึกษาวิจัย
- การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การออกแบบการเรียนรู้โดยให้นักเรียนใช้กระบวนการวิจัยสำหรับครูผู้สอนคณิตศาสตร์” (1-2 วัน ดูตัวอย่าง)
- การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การออกแบบการเรียนรู้โดยให้นักเรียนใช้กระบวนการวิจัยสำหรับครูผู้สอนวิทยาศาสตร์” (1-2 วัน ดูตัวอย่าง)
- การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “กิจกรรมการสอนประวัติศาสตร์บูรณาการในมิติคณิตศาสตร์” (1-2 วัน ดูตัวอย่าง)
- การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “กิจกรรมการสอนประวัติศาสตร์บูรณาการในมิติวิทยาศาสตร์” (1-2 วัน ดูตัวอย่าง)
- การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การสร้างวัฒนธรรมการวิจัยในการเรียนการสอน” (1-2 วัน ดูตัวอย่าง)
- การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การสร้างผลงานวิชาการของครูผ่านงานวิจัย” (1-2 วัน)
- การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “โครงงานคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียน” (1 วัน)
- การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การสอนกระบวนการคิดและการตั้งคำถามสำหรับนักเรียน” (1-2 วัน)
- การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “กิจกรรมสำหรับการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในโรงเรียน” (1-2 วัน)
- การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “กิจกรรมการเรียนการสอนที่พัฒนาทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์” (1-2 วัน)
- การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การจัดค่ายคณิตศาสตร์” (1-2 วัน)
- การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “เทคนิคการใช้โปรแกรม Sketchpad สำหรับการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์” (1-3 วัน)
- การศึกษาและวิเคราะห์ทางโบราณคดี โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (1 วัน)
- การวิเคราะห์ข้อมูลทางโบราณคดีผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- การอบรมการจัดกิจกรรมแบบมืออาชีพ (1-2 วัน)
หากมีหัวข้อการบริการวิชาการที่ท่านสนใจแต่ไม่ระบุในกิจกรรมด้านบน ท่านสามารถสอบถามอาจารย์อติชาตได้เสมอ
การฝึกอบรมสำหรับนักเรียนนักศึกษา
- การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบบูรณาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่น” (1 วัน ดูตัวอย่าง)
- การอบรมเชิงปฏิบัติการ/การดูงาน เรื่อง “คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์กับการศึกษาทางโบราณคดีที่วัดอุโมงค์(เชิงดอยสุเทพ)” (1/2-1 วัน ดูตัวอย่าง)
- การอบรมความรู้สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์ (1-2 วันต่อครั้ง)
- การอบรมการใช้โปรแกรมคณิตศาสตร์ The Geometer’s Sketchpad (1-3 วัน)
- กิจกรรมบทบาทสมมติเรื่อง “การสัมภาษณ์งาน” (1/2 -1 วัน เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเองโดยวิทยากร โดยเน้นทั้งสาระ ความสนุกสนาน และให้ทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรม กิจกรรมนี้เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการปัจฉิมนิเทศนักศึกษาเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการหางาน ดูตัวอย่าง)
- การบรรยาย อาทิ “เรียน Math อย่างไรให้ได้ A” “เรียนคณิตศาสตร์ไปทำไม” และ “ชีวิตนักศึกษาคณิตศาสตร์หลังเรียนจบ : อาชีพและการศึกษาต่อที่หลากหลาย” (1-2 ชั่วโมงต่อเรื่อง)
หากมีหัวข้อการบริการวิชาการที่ท่านสนใจแต่ไม่ระบุในกิจกรรมด้านบน ท่านสามารถสอบถามอาจารย์อติชาตได้เสมอ และในเรื่องการจัดค่ายสำหรับนักเรียนนักศึกษาท่านสามารถชมข้อมูลที่หน้าค่ายคณิตศาสตร์และค่ายเยาวชนอื่น
การติดต่อเชิญเป็นวิทยากร:
หากท่านต้องการติดต่อเรื่องการบริการวิชาการ โปรดติดต่อล่วงหน้าอย่างน้อย 6 สัปดาห์ก่อนวันจัดกิจกรรม โดยสามารถติดต่อมาที่
อาจารย์อติชาต เกตตะพันธุ์
ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
โทรศัพท์: 053-943-327 ต่อ 127 หรือ 083-763-1536
แฟกซ์: 053-892-280
อีเมล์: kettapun[at]gmail.com
ตัวอย่างภาพการบริการวิชาการ:
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ตัวอย่างข้อคิดเห็นจากผู้เข้ารับการอบรม:
“เด็กประถมโดยเฉพาะช่วง ป.1-ป.3 เป็นวัยอยากรู้อยากเรียนและชอบถามจุกจิก บางทีก็ถามไร้สาระตามวัยของเขา เทคนิคปลูกต้นคิดพิชิตคำถาม น่าจะนำไปใช้ในการจัดกระบวนการเรียนการสอนได้ดี เพื่อเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการตั้งคำถามของนักเรียน ให้เด็กคิดเป็นตั้งคำถามเป็น ส่วนบทเรียนแม่น้ำกว้างแค่ไหนแผนที่ทางอากาศบอกเราได้ น่าจะเป็นบทเรียนที่นำไปใช้ เด็กคงจะสนุกตื่นเต้นมากเหมือนกับได้ท่องไปในโลกกว้าง ทุกความรู้ที่ได้รับจะนำไปใช้จัดการเรียนการสอนบูรณาการกับวิชาอื่นๆให้ได้มากที่สุด ต้องขอขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้เป็นอย่างยิ่ง”
อาจารย์กนกกาญจน์ โนรินทร์ โรงเรียน บ้านร้องเข็ม จังหวัดแพร่
(การอบรมเชิงปฏิบัติการการออกแบบการเรียนรู้โดยให้นักเรียนใช้กระบวนการวิจัยสำหรับครูผู้สอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์)
“ได้รับความรู้เรื่องการบูรณาการการสอนสาระวิชาต่างๆ / ได้เทคนิคการสอนประวัติศาสตร์ที่ควรนำไปสอนเด็กเป็นอย่างยิ่ง เป็นการสอนที่ไม่น่าเบื่อ / ได้แรงบันดาลใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และงานวิจัย โดยใช้การบูรณาการ และจะนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด / ได้เทคนิคการสอนให้เด็กได้ทั้งความรู้และความสุข / ทึ่งมาก ที่มีนักวิทยาศาสตร์, นักวิจัย, ครูมืออาชีพ อยู่ในคนเดียวกัน / ขอบคุณ อ.อติชาต เกตตะพันธุ์ ที่เป็นแบบอย่างที่ดีและแรงบันดาลใจ”
อาจารย์นิรามัย เจิมจิตร โรงเรียนบ้านสัน จังหวัดลำพูน
(การอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างวัฒนธรรมการวิจัยในการปฏิบัติงาน)
“ได้ตัวอย่างการจัดกิจกรรมที่ใช้กระบวนการวิจัยโดยไม่รู้ตัว / ได้แนวคิด ในการจัดกิจกรรมต้องมีชีวิตชีวา สนุกสนาน เด็กได้ร่วมคิด ร่วมทำจริง จะนำไปปรับใช้ให้จริงจังต่อไป / ทีมงานเก่งมากค่ะ สอนเรื่องยากให้ง่าย สนุก ชอบมากค่ะ ”
อาจารย์อุไร รุ่งเรือง ครูบ้านวังน้ำเขียว จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
(การประชุมปฏิบัติการสร้างวัฒนธรรมการวิจัย)
“ได้แนวทางการจัดการเรียนการสอนตามกระบวนการวิจัย / ได้แนวทางการจัดกิจกรรมที่น่าสนใจ ไม่น่าเบื่อ และการใช้สื่อที่ทันสมัย / สิ่งที่ได้รับสามารถนำไปถ่ายทอดให้เพื่อนครูนำไปใช้ได้อย่างดียิ่ง เพราะเป็นการฝึกการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล เป็นกระบวนการที่ชัด”
อาจารย์นงนาถ อัมพร รองผู้อำนวยการ โรงเรียนบ้านปากข้าวสาร จังหวัดสระบุรี
(การประชุมปฏิบัติการสร้างวัฒนธรรมการวิจัย)
“เป็นการนำเสนอกิจกรรมบูรณาการโดยใช้กระบวนการวิจัย 4 ขั้นตอนของเด็กที่ดี สามารถนำเสนอให้คุณครูเป็นแนวทางและนำมาปรับใช้ได้เป็นอย่างดี จุดประกายให้แน่ใจว่ากระบวนการวิจัยอย่างง่ายๆ ถ้าช่วยกันปลูกฝังให้เด็กอย่างต่อเนื่องให้อยู่ในวิธีชีวิต ทำให้เกิดวัฒนธรรมการวิจัยในสายเลือด”
อาจารย์พิธพร ธนะสมบัติ ศึกษานิเทศก์ อ.พนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
(การประชุมปฏิบัติการสร้างวัฒนธรรมการวิจัย)